เรื่องเล่าท้องไม่พร้อม…บนพื้นที่ 3 เกาะ

[vc_row][vc_column][vc_custom_heading text=”เรื่องเล่าท้องไม่พร้อม…บนพื้นที่ 3 เกาะ | เดลินิวส์” font_container=”tag:h3|text_align:left”][vc_column_text]ประเทศไทยมีจำนวนเด็กที่เกิดจาก “แม่วัยรุ่น” หรือเด็กที่อายุต่ำกว่า 20 ปีเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ปัญหาการท้องไม่พร้อมนี้มีในทุกจังหวัดและทุกพื้นที่ แต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีถือเป็นหนึ่งจังหวัดที่ประสบปัญหานี้มากกว่าจังหวัดอื่น โดยเฉพาะในเขตเกาะเต่า เกาะสมุย และเกาะพะงัน เนื่องด้วยพื้นที่เป็นเกาะ ทำให้การให้ความรู้ การอบรม และการเข้ามาดูแลจากส่วนกลางเป็นไปได้ยากกว่า อีกทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีนักท่องเที่ยวเดินทางมาเยือนเป็นจำนวนมากในทุกปี ทำให้วัยรุ่นหลายคนมีพฤติกรรมเลียนแบบชาวต่างชาติ ทั้งในด้านการแต่งกาย ไปจนถึงการแสดงออกเรื่องความรัก ดังนั้นการทำงานเรื่องเพศจึงต้องอาศัยการทำงานกับความคิดและความรู้สึกของเด็ก มากกว่าที่จะปิดกั้นข้อมูล เพื่อให้เด็กคิดเป็น และเท่าทันกับสภาพแวดล้อมทางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีงานวิจัยพบว่าการพูดคุยกับวัยรุ่นในเรื่องเพศได้อย่างสะดวกใจ จะช่วยให้วัยรุ่นตัดสินใจมีเพศสัมพันธ์ช้าลง หรือชะลอการมีเพศสัมพันธ์ออกไป

บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด และมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) จึงร่วมกันจัดทำ โครงการ “การพัฒนาเยาวชนเชิงบวกด้านสุขภาวะทางเพศสำหรับเยาวชน ใน 3 เกาะ : เกาะเต่า เกาะสมุย และเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี” มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ชุมชน เน้นทั้งด้านทักษะการสื่อสารระหว่างพ่อแม่และบุตรหลานอย่างสร้างสรรค์ และการให้ความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้องควบคู่ไปด้วย “อย่างที่เกาะสมุยเด็ก ๆ เค้าก็เริ่มคบเป็นแฟนกันตั้งแต่ ม.1 แล้ว เวลาเราสอน เราเปิดประเด็นเรื่องการเป็นแฟน เด็กจะให้ความสนใจเยอะ ครูว่าเด็กสมัยนี้จะกล้าคุย ไม่ค่อยอาย กล้าพูดกับเรา โดยในชั้นเรียนเด็กผู้หญิงจะกล้าถามกล้าตอบมากกว่า ในขณะที่เด็กผู้ชายจะไม่ค่อยพูด แต่ก็ไม่ได้แปลว่าเขาไม่คิดเรื่องนี้นะ เพราะเขาอาจจะไปแสดงออกในที่อื่นเลยก็ได้ ในฐานะครูแนะแนวเราก็จะมีเด็กมาปรึกษาบ้าง ครูเห็นว่าการอบรมนี้ดีมาก น่าจะเอาไปใช้ได้ ได้เทคนิคต่าง ๆ อย่างการจัดสันทนาการก่อนจะเริ่มพูดคุยเพื่อให้เด็กเปิดใจ” เกศวรา ศรีพิบูลย์ หรือ ครูกุ๊ก ครูแนะแนวโรงเรียนทีปราษฎร์พิทยา เกาะสมุย บอกเล่า หลังเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับวิทยากรหลักเพื่อการพัฒนาเยาวชนเชิงบวกด้านสุขภาวะทางเพศที่โครงการฯ จัดขึ้น ด้าน สำอางค์ ลวนางกูร พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเกาะพะงัน กล่าวว่า จากข้อมูลที่เราเก็บได้คือมีจำนวนแม่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมเกินเกณฑ์ของที่กระทรวงสาธารณสุขตั้งไว้ที่ร้อยละ 10 เลยคิดที่อยากจะทำตรงนี้ ตั้งแต่เริ่มจนถึงตอนนี้เราได้แกนนำที่เป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. แกนนำชุมชน แกนนำพ่อแม่รวมแล้วประมาณ 30 คน สร้างแกนนำเยาวชนที่โรงเรียนบ้านโฉลกหลำและโรงเรียนพะงันศึกษาได้ประมาณ 60-70 คน ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือเราได้ทีมเข้ามาทำเรื่องของงานวัยรุ่นเพิ่มขึ้นเยอะเลย เมื่อก่อนเราทำอยู่คนเดียว พ่อแม่มาช่วยเป็นวิทยากรร่วมกับทีมของแพธ คนที่อบรมไปแล้วเขาก็เอาความรู้กลับไปใช้กับครอบครัวตัวเอง ไปบอกต่อกับเพื่อนบ้าน บทบาทของครอบครัวมีความสำคัญกับการแก้ปัญหาท้องไม่พร้อมในวัยรุ่น

ในความเห็นของ ณัฐพล กฎชาญเจริญ ผู้ประสานงานโครงการ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) บอกว่า สิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองที่มีลูกวัยรุ่นควรคำนึงถึง อย่างแรกเลยพ่อแม่ผู้ปกครองต้องเข้าใจก่อนว่าความคิดของวัยรุ่นนั้นเป็นยังไง เพราะทุกคนก็เคยผ่านช่วงวัยนี้มาก่อน “ผู้ปกครองหลายคนอาจมองว่าลูกเรามีพฤติกรรมที่หนักกว่า รุนแรงกว่า แต่นั่นก็เป็นเพราะสภาพแวดล้อมและสภาพทางสังคมที่ต่างกัน จริง ๆ แล้วความคิดความรู้สึกที่อยากรู้อยากลองนั้นไม่ต่างกันเลย ส่วนที่สองก็คือ เราเปิดโอกาสให้ลูกได้อธิบาย ได้พูด มากกว่าที่เราพูดหรือเปล่า ถ้าเราไม่ฟังลูกเลยแล้วไปตัดสินลูก ก็จะคุยกันไม่รู้เรื่อง แล้วลูกก็จะไม่มาปรึกษาเวลามีปัญหา และอาจเลือกตัดสินใจผิดได้” ประสานงานโครงการ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) กล่าว หทัยรัตน์ อติชาติ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายด้านรัฐกิจและกิจการสัมพันธ์ เชฟรอนประเทศไทย กล่าวว่า โครงการฯ นี้จึงมุ่งให้ความรู้ ความเข้าใจ เตรียมพ่อแม่ให้มีความพร้อมที่จะสื่อสารอย่างสร้างสรรค์ และสร้างภูมิคุ้มกันแก่เยาวชนในเรื่องเพศ เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อม โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และปัญหาในวัยรุ่นอื่นๆ เพราะเราเชื่อว่าครอบครัวเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาเยาวชนที่ดีที่จะเป็นกำลังสำคัญของประเทศต่อไป ชุมชน โรงเรียน สถานประกอบการ ผู้ปกครอง สนใจขอรับหนังสือ (ฟรี) “ผู้ใหญ่เปิดใจ ลูกหลาน (รัก) ปลอดภัย” ที่จะช่วยแนะนำพ่อแม่และผู้ใหญ่ ในการสื่อสารเรื่องเพศอย่างสร้างสรรค์กับลูกหลานที่กำลังเติบโตเป็นวัยรุ่น หรือขอรับการอบรมหลักสูตร “คุยกับลูกหลานเรื่องเพศ” (โดยรวมกลุ่มผู้ปกครองที่มีลูกหลานวัยรุ่นจำนวน 30 คน ทางโครงการจะมีวิทยากรไปพัฒนาทักษะการสื่อสารเรื่องเพศในครอบครัวให้ฟรี) สามารถติดต่อได้ที่ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ โทรศัพท์ 0-2611-3001-5 สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ สามารถเข้าชมได้ที่ www.teenpath.net และ www.lovecarestation.com“[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]