P2H นับเป็นอีกหนึ่งองค์กรพัฒนาเอกชนสาธารณประโยชน์ที่มุ่งสร้างสรรค์นวัตกรรมในการทำงานเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชากรไทย
ความเป็นมาของ P2H
P2H หรือมูลนิธิแพธทูเฮลท์ (Path2Health Foundation) จดทะเบียนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 โดยก่อนหน้านั้นได้ดำเนินงานในนามองค์การแพธ (PATH) ประเทศไทย มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2528 ซึ่งได้ร่วมมือกับหลากหลายภาคีในทุกภาคส่วนในการพัฒนาความรู้ เสริมสร้างศักยภาพและความช่วยเหลือด้านเทคโนโลยีและวิชาการสาธารณสุขเพื่อพัฒนาสุขภาพและคุณภาพของประชากรกลุ่มต่างๆ ของประเทศไทย
P2H ทำอะไรบ้าง?
มูลนิธิแพธทูเฮลท์มุ่งเน้นกระบวนการทำงานแบบมีส่วนร่วมโดยมีพันธกิจที่สำคัญ ดังนี้
1. พัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสร้างสุขภาวะแก่บุคคล ครอบครัง และสังคม
2. พัฒนาสมรรถนะขององค์กร หน่วยงาน ให้สามารถจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อสร้างสุขภาวะ
3. พัฒนานวัตกรรมที่ส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลและบริการสุขภาพ
4. พัฒนากระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพที่สอดคล้องกับความต้องการ วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมาย
5. ร่วมมือกับองค์กรและเครือข่ายภาคประชาสังคมต่างๆ ในการศึกษาและเสนอนโยบายเพื่อสร้างความเท่าเทียมและทั่วถึงในด้านสุขภาวะของประชากรทุกคนในประเทศไทย
6. ร่วมมือและสนับสนุนภาครัฐ และอกชนในการพัฒนาและแลกเปลี่ยนกลยุทธ์ในการส่งเสริมสุขภาวะในภูมิภาค
/data/content/2014/11/26619/cms/e_abejlqrtuvw4.jpg
ประสบการณ์การทำงาน P2H
มูลนิธิแพธทูเฮลท์ได้ร่วมมือกับหน่วยงานภาคีส่งเสริมการดำเนินงานด้านสาธารณสุขอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่างเช่ น
– โครงการก้าวย่างอย่างเข้าใจ การออกแบบหลักสูตรกิจกรรม กระบวนการเรียนรู้ และสื่อเรื่องเพศศึกษาสำหรับเยาวชนที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและพัฒนาการตามช่วงวัย
– โครงการ UP TO ME การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพสถานศึกษา ครู บุคลากรทางสาธารณสุข ในการดำเนินงานเรื่องเพศศึกษาและบริการสร้างเสริมสุขภาพทางเพศสำหรับเยาวชน
– โครงการคุยกับลูกหลานเรื่องเพศ การสนับสนุนและพัฒนาศักยภาพพ่อแม่ผู้ปกครองในการสื่อสารเรื่องเพศกับบุตรหลาน
– โครงการ ๑๖๖๓ สายด่วนปรึกษาเอดส์ และท้องไม่พร้อม การพัฒนาเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อสนับสนุนทางเลือกผ๔หญิงที่ท้องไม่พร้อม การปรึกษาปัญหาท้องไม่พร้อม และบริการส่งต่อตามทางเลือก
– www.teenpath.net และ www.lovecarestation.com แอปพลิเคชัน เกมคอมพิวเตอร์ (เกมทายใจ, เกม Powerland ฯลฯ) การส่งเสริมสุขภาพทางเพศโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT) และเทคโนโลยีการสื่อสารร่วมสมัยอื่นๆ
– โครงการเลิฟแคร์ กล้ารัก กล้าเช็ค และโครงการเลดี้เช็ค การสร้างสรรค์การจัดบริการสุขภาพที่เป็นมิตร เพื่อความทั่วถึงและเท่าเทียมโดยการสร้างภาคีระหว่างบริการภาครัฐและเอกชน เป็นต้น
นอกจากนี้หน่วยงานที่มูลนิธิมีความร่วมมือเป็นภาคีดำเนินการร่วมกัน มีทั้งหน่วยงานในภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงสาธษรณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ สถาบันการศึกษาและหน่วยงานวิจัย องค์กรอิสระ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน องค์กรชุมชน กลุ่มชาวบ้าน ไปจนถึงองค์กรพัฒนาระหว่างประเทศและภาคธุรกิจ
เรื่องโดย ภาวิณี เทพคำราม Team Content www.thaihealth.or.th