[vc_row][vc_column][vc_column_text]เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) มูลนิธิเอ็มพลัส (Mplus+) องค์การแพลน อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย (Plan International) องค์การเพื่อการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ที่ร่วมกันดำเนินงานเพื่อพัฒนาสถานศึกษาต้นแบบในการป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันทุกรูปแบบ และทำให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน[/vc_column_text][vc_column_text]เนื่องจากการรังแกกันที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาถือเป็นความรุนแรงรูปแบบหนึ่งที่ส่งผลกระทบต่อสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ถูกกระทำ เช่น ซึมเศร้า เครียด ขาดความมั่นใจในตนเอง ไม่อยากมาเรียน การทำร้ายตนเองหรือคนอื่นที่อ่อนแอกว่า และการฆ่าตัวตาย เป็นต้น โดย คนที่มักถูกรังแก จะเป็นคนที่มีความแตกต่างจากคนอื่นทั้งในเรื่อง รูปร่าง พฤติกรรม และเพศสภาพ เช่น คนที่เงียบๆ ไม่มีเพื่อน คนตัวเล็กหรือตัวใหญ่กว่าคนอื่น ความต่างของสีผิว คนที่เรียนรู้ช้าหรือบกพร่องทางการเรียนรู้ และคนที่เป็น เกย์ กะเทย ทอม เป็นต้น คนรังแกจะเป็นเพื่อนในโรงเรียนและเพื่อนสนิท ซึ่งมักจะคุ้นชินกับการใช้อำนาจและการใช้ความรุนแรงกับผู้อื่น สิ่งที่เป็นประเด็นน่าสนใจก็คือ ผู้ถูกรังแกมักไม่รู้ว่าจะต้องหาทางออกหรือขอความช่วยเหลือได้อย่างไรเมื่อเกิดการรังแกขึ้น บางรายไม่บอกให้ครูรู้หรือไม่พูดคุยกับใคร เพราะเห็นว่าบอกไปก็ไม่เกิดผลอะไรและไม่อยากให้เป็นเรื่องใหญ่โต[/vc_column_text][vc_column_text]คนที่เห็นเหตุการณ์ก็มักจะไม่เข้าไปช่วยเพราะเห็นว่าเป็นการเล่นกันและรู้สึกว่าไม่ใช่เรื่องของตนเอง สถานศึกษาส่วนใหญ่มองเรื่องการรังแกกันเป็นเรื่องเล็กน้อยและเมื่อเกิดการรังแกขึ้นผู้ที่รังแกมักถูกทำโทษ แต่ก็ไม่มีการทำให้ผู้รังแกได้รู้สึกเห็นอกเห็นใจ หรือเข้าใจความรู้สึกคนอื่นที่ถูกรังแกด้วย จึงเห็นได้ชัดว่ายังคงมีการรังแกเกิดขึ้นในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่องและส่งผลต่อคุณภาพการศึกษา การเรียนรู้ และความรู้สึกปลอดภัยในการใช้ชีวิตในสถานศึกษาของผู้เรียน แต่สถานศึกษาหลายแห่งก็ยังมองการรังแกกันเป็นเรื่องปกติและไม่มีนโยบายที่จะดำเนินการกับการรังแกที่เกิดขึ้นในสถานศึกษาที่ชัดเจน[/vc_column_text][special_heading title=”ทำอะไร” subtitle=”” animated=”no” font=”secondary” margin_bottom=”5″][vc_column_text]“โครงการป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันในสถานศึกษา” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องการรังแกกันและการใช้ความรุนแรงทุกรูปแบบ การพัฒนาศักยภาพระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนและสร้างบรรยากาศของสถานศึกษาให้เป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับผู้เรียนทุกคน ผ่านการจัดการเรียนรู้เรื่องไม่รังแกกันในหลักสูตรสถานศึกษา การจัดกิจกรรมรณรงค์ในการป้องกันและยุติการรังแกกัน การทำงานกับกลุ่มแกนนำเยาวชนในสถานศึกษา การทำงานกับผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนในโรงเรียนทั้งครูและผู้ปกครองในการร่วมกันป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันในสถานศึกษาตลอดจนการทำงานกับหน่วยงานเขตพื้นที่การศึกษา หน่วยงานด้านนโยบายที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานสาธารณสุขในพื้นที่ในการจัดบริการช่วยเหลือและส่งต่อ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ เยาวชนในสถานศึกษาทั้งระดับมัธยมศึกษา ม.๑-๖ ในโรงเรียนนำร่องจำนวน 10 โรงเรียน (หรือมากกว่า) ในพื้นที่กรุงเทพฯและเชียงใหม่ มีระยะเวลาในการดำเนินงาน 3 ปี (ตุลาคม 2557- ตุลาคม 2560)[/vc_column_text][special_heading title=”เป้าหมายในอนาคต” subtitle=”” animated=”no” font=”secondary” margin_bottom=”5″][vc_column_text]โครงการมุ่งที่จะพัฒนาให้เกิด โรงเรียนต้นแบบที่สามารถดำเนินงานป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันได้ โดยสถานศึกษามีนโยบายที่สนับสนุนการยุติการรังแกกันอย่างชัดเจน มีการจัดการเรียนรู้เรื่องการไม่รังแกกันในหลักสูตรสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง เยาวชนในสถานศึกษามีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมเพื่อช่วยลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันกับเพื่อนเยาวชนในสถานศึกษา สถานศึกษามีระบบการป้องกัน ดูแล ช่วยเหลือผู้เรียนที่ได้รับผลกระทบจากการรังแกกันทั้งกับ ผู้ถูกกระทำ ผู้กระทำ และผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ มีระบบส่งต่อบริการที่เกี่ยวข้องกับการรังแกกันระหว่างสถานบริการสาธารณสุขและสถานศึกษาเพื่อฟื้นฟูและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ และผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกัน รวมทั้ง หน่วยงานนโยบายด้านการศึกษาสนับสนุนและเห็นความสำคัญของการป้องกันและลดการใช้ความรุนแรงและการรังแกกันในสถานศึกษา และนำแนวทางในการทำงานดังกล่าวไปขยายผลต่อในโรงเรียนอื่นๆได้[/vc_column_text][/vc_column][/vc_row]