“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นกับเยาวชนไทยทุกวันนี้ มีให้เห็นได้แทบทุกวันตามสื่อต่างๆ ที่นำเสนอข่าว เช่น ท้องก่อนวัยอันควร ติดยาเสพติด พฤติกรรมที่รุนแรงก้าวร้าว เด็กติดเกม สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่ปัญหาใหม่ แต่ก็ยังเป็นปัญหาที่ยังมีให้เห็นในสังคมอยู่อย่างต่อเนื่องเพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบไปตามยุคสมัย แต่หากเกิดขึ้นแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือรีบยื่นมือเข้าไปช่วยแก้ไขหรือป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นซ้ำ

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

และโครงการที่จะมาช่วยวิเคราะห์ ตามแบบเกาะติดระยะยาว จนนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขปัญหา หนึ่งในนั้นคือ  “โครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน” โดย บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ร่วมกับ มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) องค์กรพัฒนาสุขภาวะทางเพศและคุณภาพชีวิตของประชากร โดยพุ่งเป้าไปที่การให้องค์กรท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุดซึ่งดำเนินการมาแล้ว ตั้งแต่กลางปี 2559 ในหลายพื้นที่รวมถึงจังหวัดสงขลา

จิตแพทย์เด็กชี้ “เด็กติดเกม” มีโอกาสเลียนแบบวิธีก่ออาชญากรรม !!

เปิดสาเหตุสำคัญที่ทำให้มีความก้าวร้าวและนิยมใช้ความรุนแรง

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

ชูไชย นิจไตรรัตน์ หัวหน้าโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชนในจังหวัดสงขลา มูลนิธิแพธทูเฮลท์ ยอมรับว่า “ไม่ง่าย” เพราะหัวใจสำคัญอยู่ที่…

“ทำอย่างไรให้คนในท้องถิ่น ที่มีภาคีมีภารกิจตรงดูแลคุณภาพชีวิตลุกขึ้นมาทำงานกับเรา เสริมนวัตกรรมจากเรา เสริมสมรรถภาพ เพื่อส่งผลตัวประชากรกลุ่มเป้าหมาย พวกนี้ต้องลุกขึ้นมาเป็นภาคีและทำงานอย่างต่อเนื่องกับเราอย่างมีคุณภาพ โดยไม่ได้ทำงานแบบระยะสั้น ไม่ได้มาอบรมแล้วหายไป ต้องจัดการแบบเกาะติดกับพื้นที่ และทำให้ท้องถิ่นรู้สึกว่าเป็นภารกิจของเขาด้วย” 

เจาะปัญหาเด็ก-ผู้ปกครอง เล่นเกมผิดหรือไม่ ?

กรมสุขภาพจิตแนะ “พฤติกรรมรุนแรง” พบเร็วตั้งแต่เด็กแก้ไขได้ทัน

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

ซึ่งมาถึง ณ วันนี้ โครงการฯ ประสบความสำเร็จและได้รับการตอบรับที่ดีขึ้น โดยมองภาพการทำภารกิจเพื่อคุณภาพชีวิตประชาชนเป็นภาพเดียวกัน แสดงออกมาเป็น 4 ภารกิจสำคัญ คือ 1.การพัฒนาแกนนำเยาวชนเพื่อสื่อสารกับเยาวชนด้วยกัน 2.การส่งเสริมการสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว 3.การพัฒนาทีมสหวิชาชีพเพื่อช่วยเหลือเยาวชนที่เผชิญปัญหารายกรณี (Case Conference) และ 4.การสื่อสารบทเรียนในการพัฒนาต้นแบบของท้องถิ่นที่สามารถจัดการประเด็นการดูแลสุขภาวะทางเพศของวัยรุ่นที่มีประสิทธิภาพ

นักวิชาการด้านสื่อมวลชนแนะสื่อหลักต้องสร้างจุดแข็งด้านจริยธรรม

กรมสุขภาพจิต แนะพ่อแม่ดูแลลูกท่ามกลางวิกฤตน้ำท่วม

และในวันที่ สถานีโทรทัศน์ PPTV HD 36 ลงพื้นที่นั้น ทางเชฟรอน และ P2H ได้จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียน “ผู้ใหญ่คุยเปิดใจ ลูกหลานปลอดภัย” ตอน “แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” เปิดโอกาสให้ตัวแทนผู้ปกครองที่ผ่านการอบรมในโครงการส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน ตั้งแต่ระยะที่ 1 จนถึงปัจจุบัน จำนวน 20 คนจาก ทั้งหมด 5,138 คน มาทบทวนสิ่งที่ได้รับไป

ทุกคนได้ล้อมวงแลกเปลี่ยนหลังจากที่มีการนำความรู้และคำแนะนำจากโครงการฯ ไปใช้กับครอบครัว โดยแต่ละบ้านก็มีปัญหาที่แตกต่างกันออกไป ซึ่ง PPTV HD 36 ได้มีโอกาสคุยกับ 2 คุณแม่ที่มาเข้าร่วมโครงการฯ ที่มีปัญหาลูกเริ่มมีพฤติกรรมก้าวร้าวและอยากรู้เรื่องเพศ

“เปลี่ยนตัวเอง เพื่อลูก”

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

สิ่งแรกที่ทั้ง 2 คุณแม่เลือกทำเป็นอันดับแรกหลังเข้าโครงการฯ อบรม คือ การเปลี่ยนตัวเองเพื่อลูก คุณแม่คนแรกเล่าว่า จากเดิมที่แม่คือคนที่ใหญ่ที่สุดในบ้าน หากลูกทำอะไรที่ไม่ถูกใจหรือพอใจ จะมีอาการโมโห หงุดหงิด ว่ากล่าวด้วยถ้อยคำรุนแรง และออกคำสั่งจนเหมือนการปิดกั้นความคิด เนื่องจากต้องทำงานหนักไม่มีเวลามาให้คำปรึกษา หรือ พูดคุย แม้กระทั่งกอดลูก ผลสะท้อนกลับมาคือลูกหน้านิ่วคิ้วขมวด เดินกระแทกเท้าไปทำตามคำสั่ง สุดท้ายจึง “ตัดสินใจเปลี่ยนตัวเอง” โดยใช้วิธีค่อยเป็นค่อยไป จัดการกับอารมณ์ เปิดใจรับฟังสิ่งที่พวกเขาอยากจะบอก อยากจะสื่อสาร ไปจนถึงการกอดกันทุกเช้าก่อนไปโรงเรียน ทุกอย่างต้องใช้เวลาเป็นปี แต่วันนี้พวกเขาได้ “สวรรค์ในบ้าน” กลับคืนมา

ชี้เยาวชน “LGBT” เสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้า เหตุโดนแกล้งถี่กว่าเด็กปกติ 4.5 เท่า

พ่อแม่มือใหม่จงฟัง!! 8 วิธีคลายปัญหาเมื่อลูกไม่อยากไปโรงเรียน

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

ส่วนอีกหนึ่งคุณแม่กำลังอยู่ในช่วงที่ลูกชายวัย 14 ปี เริ่มสนใจเรื่องเพศ โดยวันหนึ่งเธอพบว่าลูกชายกำลังช่วยตัวเองและลุกลามจนถึงขั้นถ่ายคลิปวิดีโอเพื่อโพสต์ลงเว็บไซต์อนาจาร เธอยอมรับว่าในตอนแรกเธอรู้สึกโกรธมากและไม่พูดกับลูกชายถึง 2 วัน แต่เมื่อเธอสามารถจัดการกับอารมณ์ลงได้และมองถึงต้นตอของสาเหตุว่านี้คือช่วงที่ลูกชายกำลังก้าวเข้าสู่วัยรุ่น เธอจึงตัดสินใจ “เปิดอกคุยแบบตรง” พร้อมกับแนะนำถึงผลเสียของการถ่ายคลิปว่าอาจเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพนำไปใช้ในทางเสียหาย หากมีความต้องการจริงๆ ให้ออกจากห้องแล้วหากิจกรรมอื่นๆ ที่สนใจ ซึ่งเธอจะใช้วิธีการให้เวลา “เล่นเกม” ตามโควต้าที่กำหนด ไปจนถึงการเปิดใจพูดคุยถึงผลดี ผลเสีย และเรื่องเพศอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งวันนี้ “เธอได้ลูกชายที่มีเธอเป็นที่ปรึกษา” กลับคืนมา

จิตแพทย์ รับกระแสโซเชียล “มีได้ก็เลี้ยงได้” หวั่นเลียนแบบ

งานวิจัย สจล. ตอกย้ำการแก้ปัญหา “เพศสัมพันธ์ในวัยรุ่น” ล้มเหลว!

“รุ่นราวคราวเดียวกัน คอเดียวกัน ก็เปิดใจคุยกันมากกว่า นำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดียิ่งขึ้น” นี่คือสิ่งที่ “ปลายฝน ทองอารัญ” แกนนำเยาวชนของโครงการและหนึ่งในคณะบริหารสภาเด็กของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง สัมผัสมา เพราะนอกจากพ่อแม่ที่พร้อมจะปรับตัวเพื่อลูกแล้ว คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ถ้ามีคนวัยใกล้เคียงกันสื่อสารภาษาเดียวกัน ความเข้าใจกันก็จะง่ายมากขึ้น ซึ่งเธอได้เข้าร่วมโครงการตั้งแต่ในระยะแรกสมัยเรียนอยู่ชั้นมัธยมปีที่ 5 และทำเรื่อยมาจนตอนนี้ ปลายฝนกำลังศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย

หนึ่งในหน้าที่ของแกนนำเยาวชนที่ปลายฝนเข้าร่วม คือเดินสายจัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศกับกลุ่มเพื่อนในวัยเดียวกัน ซึ่งหนึ่งในกระบวนการนั้น จะมีการฉายภาพยนตร์ทางเลือก ชื่อ “Up to me ชีวิตมีทางเลือก” ไปตามโรงเรียนซึ่งไม่จำกัดอยู่แค่เด็กที่มีปัญหา ยังรวมถึงเด็กๆ คนอื่นด้วย เพื่อแนะนำ พูดคุยถึงปัญหาของวัยรุ่น และตลอดระยะเวลาที่ ปลายฝน ทำกิจกรรมเธอพบว่า เมื่อนำวิธีการของโครงการเข้าไปใช้ ทำให้น้องๆ หลายคน “กล้า” ที่จะเปิดใจคุย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันในกลุ่ม จนนำไปสู่แนวทางการแก้ไขของแต่ละคนได้ โดยมีเคสตัวอย่างหนึ่งเดินเข้ามาพูดกับเธอว่า “ผมรู้แบบนี้ผมจะไม่ทำให้ผู้หญิงท้องเลย” นี่คือก้าวเล็กๆของความสำเร็จที่เธอสัมผัสมา

หนุนเยาวชนพกถุงยางอนามัย เผื่อใช้ยามฉุกเฉิน !

“แค่เราปรับ ลูกก็เปลี่ยน” กุญแจทางออกปัญหาวัยรุ่นในสงขลา

ปลายฝนยังบอกด้วยว่าสุดท้ายแล้วหัวใจสำคัญของการแก้ปัญหาในแต่ละคนจุดเริ่มต้น คือ “ครอบครัวต้องเปิดใจ น้องๆ ต้องกล้าที่จะคุยกับพ่อแม่ตรงๆ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับเรื่องเพศ”

นี่เป็นเพียงตัวอย่างความสำเร็จของการร่วมมือร่วมใจการแก้ปัญหาให้กับเด็กวัยรุ่น ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหากไม่ได้มีจุดเริ่มต้นจากการเปิดพื้นที่ให้มูลนิธิแพธทูเฮลท์ (P2H) ซึ่งมีประสบการณ์ มีเครื่องมือ มีวิธีการ เข้ามาเคลื่อนและกระตุ้นองค์กรส่วนท้องถิ่นให้ตื่นตัวและมองว่านี่คือ ปัญหาของลูกหลานที่เราต้องช่วยกันแก้ไข ปัญหาเหล่านี้จะอาจขยายใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถควบคุมได้ ขณะเดียวกันความสำเร็จของโครงการฯ อาจดูได้จากวันนี้กำลังก้าวเข้าสู่ระยะที่ 2 ขยายจากพื้นที่ 4 เป้าหมายเดิมในระยะที่ 1 คือ เทศบาลเมืองเขารูปช้าง, เทศบาลนครสงขลา,เทศบาลตำบลพะวง และเทศบาลเมืองสิงหนคร และเพิ่มพื้นที่เป้าหมายใหม่ขึ้นอีก 4 เทศบาลในระยะที่ 2 คือ เทศบาลตำบลเกาะแต้ว อบต.ทุ่งหวัง อบต.เกาะยอ และ อบต.ชิงโค

“หมดยุคด่าด้วยปาก ฟาดด้วยไม้ แต่หันมากอดแล้วเปิดใจพูดคุยกัน”

ที่มา : https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/112384