วันแรกของงาน #คนใต้หยัดได้2
เริ่มด้วยการแสดงฟังเสียงเยาวชน และท่านรองอธบดีกรมอนามัย-ประธานเปิดงาน และมีคุณอาทิตย์ จากเชฟรอน พูดถึงเจตนารมณ์ที่สนับสนุนงานด้านสุขภาวะเยาวชน มีพิธีมอบโล่ให้กับท้องถิ่นที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในงานนี้ 13 แห่ง และมอบประกาศให้กับหน่วยงานเจ้าภาพสนับสนุนการจัดงาน
พร้อมกับฟังไอดอล ผู้เป็นแรงบันดาลใจของคนทำงานวัยรุ่น “ป้ามล-ทิชา ณ นคร” ที่บอกเล่ารูปธรรมของโอกาสพลาดในชีวิตของเด็กคนหนึ่ง มาจากองค์ประกอบที่คนรอบตัวเป็นส่วนผสมทำให้เกิด…. และเมื่อเกิดเหตุหรือปัญหาแล้ว ใครต่อใครก็เห็นแต่ความไม่ดีของเด็กคนนั้น ส่งผลให้ปัญหายิ่งมาก และซับซ้อนขี้น โดยเฉพาะการให้ออกจากระบบการศึกษา “เมื่อประตูโรงเรียนปิด ประตูคุกก็เปิด”… ฯลฯ สะกิดให้คิดย้อนไปได้ว่า สมการแบบนี้ ใครต้องทำอะไรเพื่อไม่เกืด และเมื่อเกิดแล้วใครควรทำอะไรบ้าง ครูต้องทำอะไร พ่อแม่ต้องทำอะไร หมอต้องทำอะไร ท้องถิ่นต้องทำอะไร
นอกจากนี้มีห้องเสวนาย่อย ห้องพัฒนาทักษะ และลานเรียนรู้แบบตลาดนัด “หลาดนัด คนใต้หยัดได้” ซึ่งได้ถูกออกแบบมาให้เป็นการเรียนรู้ของคนทำงาน ให้เห็นวิธีคิด ตัวอย่าง รูปธรรม วิธีการ เครื่องมือ แรงบันดาลใจต่างๆ
มีผู้เข้าร่วมลงทะเบียนทั้งเช้า ทั้งบ่ายเข้ามาในงานมากกว่า 400 คน ขอบคุณผู้เข้าร่วมงานที่ตั้งใจมาเรียนรู้ ก่อรูปเป็นเครือข่าย การแลกเปลียนเรียนรู้เพื่อลูกหลานคนใต้ครั้งนี้
มีพรุ่งนี้อีกครึ่งวัน ยังคนอัดแน่นไปด้วยเนื้อหาเช่นเดิม