#ที่นี่_พมจ. (จะตั้งชื่อห้องว่าอะไรดี ที่ฟังแล้ว ดี ดี๊ ดี อ่ะ) 🥰
อยากให้เป็นห้องแลกเปลี่ยนหนึ่งในงาน #คนใต้หยัดได้_ครั้งที่3 จริงๆ ความรู้สึกนี้เกิดตอนวันที่ 23 มีนาคม 65 หลังจากทีมได้พบพูดคุยอย่างออกรสกับทีม #พมจ_สงขลา มี หน.ฝ่ายนโยบายฯ และทีมงาน ซึ่ง หน.เคยเป็นวิทยากรครอบครัว สมัยอยู่จังหวัดตรัง ที่ใช้แนวของ P2H และทำงานต่อเนื่องหลังจากนั้น เมื่อย้ายมาสงขลา พอรู้ว่า P2H ทำงานที่นี่ก็ยินดีประสานพูดคุยหาแนวทางร่วมมือทำงาน และเห็นว่าในทีมงานมีการทำงานเชิงกระบวนการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบกลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วม
มีความพยายามประยุกต์ (Apply) ข้อกำหนด / เงื่อนไขต่างๆ เพื่อให้ทำงานกับกลุ่มเป้าหมายได้ มีความร่วมมือกับภาคีหลากหลายในการทำงาน เช่น สร้างกิจกรรมผู้สูงอายุ-ดอกลำดวน ศิลป์ความรู้สึกจากเด็กพิการ และเตรียม “Live นี้เพื่อน้อง” เพื่อขายของที่เด็กๆ วาดแล้วทีมอาจารย์ มทร.ช่วยออกแบบหาคนผลิตไว้บนผลิตภัณฑ์ เช่น กระเป๋า หมอน แมส เป็นต้น – น่าสนใจดีจัง -เสียดายท่าน พมจ.ติดภารกิจ และก็โทรมาพูดคุยด้วยความสนใจ
ถนนสาย #คนใต้หยัดได้ ในส่วนที่ประสานกับพัฒนาสังคมฯ เริ่มมาจาก #พมจ_ประจวบคีรีขันธ์ ที่ส่งเสริมครอบครัวเข้มแข็งผ่านกลไกและภารกิจของ พมจ.เองจนเป็นยุทธศาสตร์จังหวัด และเพิ่มความครอบคลุมพื้นที่ตามเวลาที่เพิ่มขึ้น จนเป็นแนวทางการชี้ชวนทีม พม.ที่อื่น ต่อมาได้พบกับทีม #พมจ_นครศรีธรรมราช ที่มีคนทำงานศูนย์พัฒนาครอบครัวในท้องถิ่นเป็นตัวอย่างระดับประเทศ ก็สนใจวางแนวทางขับเคลื่อนการทำงานร่วมกัน…. จนมาถึงที่นี่
ความร่วมมือแบบนี้ถือได้ว่า การลงแรงครั้งหนึ่ง สามารถตอบโจทย์ภารกิจของงานคุณภาพชีวิตได้หลากหลายเพราะทำเป็นกระบวนการ ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ขอให้เราพบกับคนทำงานที่พร้อมประยุกต์ มีทัศนะที่อยากทำงานให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ตัวเป้าหมาย… เจอน่า หาได้ล่ะ
ใครช่วยตั้งชื่อห้องแลกเปลี่ยนในงานทีนะ.. เอาแบบคนทำงานฟังแล้ว อยากเข้าฟัง และได้ใจกลับไปชวน พมจ.ที่บ้านตัวเองทำงานเลยอ่ะ
#เชฟรอน #P2H #ศูนย์พัฒนาครอบครัว_ศพค.
ที่มา : เพจคนใต้หยัดได้